พื้นฐานควรรู้
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย
2. เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศ ที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยคำว่า “มหาวิทยาลัย” มีตัวย่อว่า “จุฬาฯ” ไม่ใช่ “ม.จุฬาฯ” เหมือน ขสมก.ใช้
3. เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ไม่มีป้ายชื่อมหาวิทยาลัย มีแต่เพียงป้ายบอกอาณาเขต
4. เป็นมหาวิทยาลัยที่สถาปนาโดยพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาลงเสาเอกด้วยพระองค์เอง
5. จุฬาฯ เป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นจากความรักของ 2 พระองค์ที่มีแก่กัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระประสงค์อยากให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดา ของพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
6. เมื่อก่อนชื่อ “จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย” ไม่มีการันต์ เป็นคำสมาสที่ไม่ได้อ่าน กะ-ระ-นะ อ่านว่า “กอน” เฉย ๆ แต่มาสมัยจอมพล ป. รัฐบาลชุดนั้นก็ได้มาเปลี่ยนให้มีตัวการันต์ เพราะเขาบอกว่า ถ้าไม่อย่างนั้นก็ต้องอ่าน “กะ-ระ-นะ” ก็เลยต้องมีตัวการันต์จนถึงปัจจุบันนี้ -_-"
7. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภกแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ และเป็นพระราชปฏิบัติว่าพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเป็นพระบรมราชูปถัมภกของสถาบันนี้ตลอดมาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป (ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยแรกแห่งกรุงสยามได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาฯ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน 5 พระองค์)
8. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินของพระคลังข้างที่ จำนวน 1,309 ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวัน ให้เป็นสถานที่ตั้งของจุฬาฯ
9. เงินที่นำมาสร้างจุฬาฯ คือ เงินบริจาคของประชาชน เงินที่เหลือจากการบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้า เรียกว่า “เงินหางม้า”
10. ถ้าจะนับเวลาที่จุฬาฯ เกิดขึ้นจริงๆ แล้ว โดยที่ไม่นับรวมว่าใช้ชื่อสถาบันว่าอะไรก็ตั้งแต่ปี พ.ศ.2442 ในขณะนั้นยังใช้ชื่อว่า “สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน” (ร้อยกว่าปีผ่านมา...)
11. คณะก่อตั้งจุฬาฯ 4 คณะแรก คือ รัฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ และอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
12. “พระเกี้ยว” พระพิจิตรเลขาประจำรัชกาลที่ 5 เป็นตราสัญลักษณ์ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจของนิสิตจุฬาฯ ทุกคน
13. เข็มพระเกี้ยวต้องติดที่อกเบื้องขวา เพราะเป็นของพระราชทาน (ของพระราชทานจะติดที่เบื้องขวา)
14. เพลงพระราชนิพนธ์ มหาจุฬาลงกรณ์ เพลงประจำมหาวิทยาลัย แต่ก่อนเคยใช้เป็นเพลงมหาฤกษ์
15. สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีชมพู เป็นสีประจำวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 5 อัญเชิญมาใช้ครั้งตอนงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์
16. จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย มีอยู่ 5 ต้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาปลูกด้วยพระองค์เอง โดยพระองค์ทรงนำต้นจามจุรีทั้ง 5 ต้นมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหินด้วยพระองค์เอง และมิได้แจ้งทางมหาวิทยาลัยล่วงหน้า นำความปลาบปลื้มมาสู่ชาวจุฬาฯทุกคน และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรีว่ามีมานานตั้งแต่สร้างมหาวิทยาลัย ทรงเน้นว่า “ดอกสีชมพู” เป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ พระองค์ทรงเห็นว่าจามจุรีที่นำมานั้นโตขึ้น สมควรจะเข้ามหาวิทยาลัยเสียที และสถานที่นี้เหมาะสมที่สุด “จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล”
17. นิตยสารไทม์ได้เสนอผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก คือ จุฬาฯ ภาพรวมอยู่อันดับที่ 180 (เคยอยู่สูงสุดอันดับที่ 123) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทย และอันดับ 3 ของอาเซียนมาโดยตลอด
เครื่องแบบนิสิต
18. เครื่องแบบการแต่งกายของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบแห่งแรกและเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานมาจากองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นแห่งแรกที่มีการสวมใส่เครื่องแบบนิสิต นอกจากนี้เครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบของมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ถูกตราไว้ในพระ ราชกฤษฎีกา พ.ศ.2498 (เป็นเกียรติ เป็นศรี เป็นศักดิ์ เป็นเอกลักษณ์งามสง่า สวมชุดนิสิตจุฬาฯ ประกาศค่า “จุฬาลงกรณ์”)
19. จีบด้านหลังของเสื้อนิสิตหญิง เป็นสัญลักษณ์แทนสไบแปลว่า ผ้าแถบ ผ้าห่มผู้หญิง ส่วนที่ตลบกลับตรงท้องแขนของเสื้อนิสิตหญิง เป็นสัญลักษณ์แทนพาหุรัด แปลว่า เครื่องประดับ กำไลแขน ทองต้นแขน ซึ่งเป็นเครื่องประดับชั้นสูง
20. รองเท้าหนังฟอกสีขาวสำหรับนิสิตหญิงน้องใหม่ฮิตใส่ยี่ห้อ peppermint
21. ตราพระเกี้ยวในเนคไทของนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นไม่ได้ใช้ตามแบบมหาวิทยาลัย
22. นิสิตหญิงคณะนิเทศศาสตร์ใส่พลีตสีดำตลอดชั้นปีที่ 1 ส่วนนิสิตชายชั้นปีที่ 1คณะวิศวกรรมศาสตร์และครุศาสตร์ให้ใส่กางเกงสีกรมท่า (แต่ถ้าปีอื่นๆ ใส่สีดำก็ไม่ว่ากัน)
23. นิสิตหญิงที่ใส่เสื้อฟิดติ้วตีเกล็ด ใส่กระโปรงทรงสอบสั้นจะถูกประณามหยามเหยียด
สถานที่
24. จุฬาฯ มี 5 ฝั่ง ได้แก่
- ฝั่งแรก คือ ฝั่งอนุสาวรีย์พระบรมรูปสองรัชกาล หน้าหอประชุมจุฬาฯ เป็นที่รวมของหลายๆ คณะ เด็กจุฬาฯ เรียกว่า “ฝั่งใหญ่”
- ฝั่งที่ 2 คือ ฝั่งหอสมุดกลาง เป็นที่ตั้งของคณะอีก 3 คณะ คือ ครุศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และนิติศาสตร์ บางคนเรียกว่า “ฝั่งนอกเมือง” ทั้งๆ ที่เป็นฝั่งเดียวกัน MBK และสามย่านนะ
- ฝั่งที่ 3 คือ ฝั่งสยามสแควร์ เป็นที่ตั้งของคณะทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์
- ฝั่งที่ 4 คือ ฝั่งมาบุญครอง เป็นที่ตั้งของคณะสหเวชศาสตร์ พยาบาล จิตวิทยา และวิทยศาสตร์การกีฬา
- ฝั่งสุดท้าย คือ ฝั่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คือ ที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์
25. รู้ไหมว่าในจุฬาฯ (ฝั่งใหญ่) ถนนมีชื่อ NickName อยู่สองสาย คือ Art Street = ตั้งแต่คณะสถาปัตยศาสตร์มาศิลปกรรมศาสตร์จนถึงอักษรศาสตร์ (เกี่ยวกับศิลป์) ส่วนอีกถนนหนึ่งก็คือ Hi-So Street = ตั้งแต่รัฐศาสตร์ไปถึงเศรษฐศาสตร์ไปสุดที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีไง ส่วนสามแยกปากห-ม-า ก็ต้องที่วิศวะเท่านั้น !!!
26. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ไม่ใช่ของจุฬาฯ แต่เป็นของสภากาชาดไทย ว่างๆ ก็ไปบริจาคเลือดที่สภากาชาดกันนะ
27. หอประชุมจุฬาฯ เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานทั้งแบบตะวันออกและตะวันตก ผู้ออกแบบเป็นชาวต่างชาติ
28. อาคารหลังแรกของจุฬาฯ (อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ : เทวาลัย) ที่ต้องสร้างเป็นแบบไทยผสมตะวันตก ทั้งที่ขณะนั้นค่านิยมการสร้างอาคารต้องสร้างให้ทันสมัยแบบตะวันตก เพราะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้สร้างวัดประจำรัชกาลของพระองค์ จึงมีพระประสงค์สร้างอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบไทยผสมตะวันตก เพื่อแทนการสร้างวัดประจำรัชกาล และพระองค์มีพระประสงค์ให้ “เรียนศาสตร์ใหม่ การศึกษาก้าวหน้า รักษาภูมิปัญญาตะวันออก”
29. ตึกที่สูงที่สุดในจุฬาฯ คือ ตึกมหามกุฎ คณะวิทยาศาสตร์ ถ้ามองจากมุมสูง จะเห็นศาลาพระเกี้ยว เป็นรูปพระเกี้ยวจริงๆ และตึกจุลจักรพงษ์จะเป็นฐานพระเกี้ยว ไฮโซเวอร์
30. คณะที่มีห้องประชุมเป็นของตัวเอง คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะครุศาสตร์
31. หอสมุดกลาง เรียกว่า “หอกลาง” เป็นที่สำหรับนอนหลับ อ่านหนังสือ เล่นอินเตอร์เน็ต ดูหนัง ฟังเพลงFacebook และจะกลายเป็นตลาดนัดในช่วง Midterm กับ Final ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องทำสงครามแย่งโต๊ะอ่านหนังสือจนเคยมีคดีชกต่อยกันมาแล้ว
32. จามจุรี 9 เป็นอีกสถานที่ที่ให้เด็กจุฬาฯ ไปอ่านหนังสือ ติวหนังสือ สอนพิเศษทั้งอาคาร รวมทั้งยังมีที่ทำการไปรษณีย์และศูนย์อนามัยของมหาวิทยาลัย
33. หอพักนิสิตจุฬาฯ มี 5 หอ คือ จำปี จำปา พุดตาน พุดซ้อน เฟื่องฟ้า ชวนชม ส่วนหอพักในกำกับ คือ หอพักพวงชมพู (ยูเซ็นเตอร์) ที่แอบไฮโซแต่แคบมาก
34. สนามกีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียกกันว่า “สนามจุ๊บ” โดยเรียกให้คล้องจองกับ “สนามศุภ”
35. สถานีรถไฟใต้ดินสถานีสามย่าน เขียนว่า “สิ่งปลูกสร้างนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”
36. การเดินจากฝั่งคณะวิทยาศาสตร์ไปฝั่งคณะนิเทศศาสตร์ไปง่ายๆ โดยไม่ต้องขึ้นสะพานลอย เพราะจุฬาฯหรูกว่านั้น คือ มีอุโมงค์เชื่อมสองฟากถนนด้วย
37. ถนนอังรีดูนังต์มีอาชญากรรมบ่อยๆ
38. ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดตั้งศูนย์หนังสือขึ้นมาร่วมกันด้วยทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
รอบรั้วคณะ
39. คณะรัฐศาสตร์ มีเค้ากำเนิดมาตั้งแต่โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนพ.ศ. 2442 (ร.ศ.118) ต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้ยกเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในสมัยรัชกาลที่ 6 จนกระทั่งเป็น 1 ใน 4 คณะแรกของจุฬาฯ โดยใช้ชื่อว่า “คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์” ในปี พ.ศ.2476 ต่อมารัฐบาลได้ให้คณะดังกล่าวไปขึ้นต่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการ เมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ครั้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2491 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง และคณะเศรษฐศาสตร์ก็เคยเป็นแผนกหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์มาก่อนที่จะจัดตั้งเป็นคณะด้วย
40. จะเห็นได้ว่า ชาวคณะรัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ จุฬาฯ มีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ชาวคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จะมีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยมหิดล
41. อักษร “ฬ” เป็นอักษรย่อแทนคณะนิติศาสตร์
42. คณะแพทยศาสตร์ เป็นรากฐานของศิริราชพยาบาล เพราะเมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะแพทยาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ก็ไปสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จึงเป็นการสิ้นสุดที่สังกัดจุฬา ต่อมา รัชกาลที่ 8 ทรงพระราชดำริสมควรมีคณะแพทย์แห่งใหม่ จึงเลือกที่จะตั้งคณะแพทยศาสตร์ ร.พ.จุฬาลงกรณ์ ดังนั้นคณะแพทยศาสตร์ที่สังกัดจุฬาฯ จึงกำเนิดขึ้นอีกครั้ง (พ.ศ.2490) และนับเป็นรุ่นที่ 1 (พ.ศ.2496) ตั้งแต่นั้นมา
43. คณะที่มีนิสิตต่อชั้นปีมากที่สุด คือ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ครุศาสตร์ และนิติศาสตร์ ตามลำดับ (แก้ไขแล้วครับ)
44. ปราสาทแดงหรือตึกแฝด คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่สร้างเลียนแบบให้เหมือนกัน (สร้างตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจุฬาฯ เชียวนะ) ถึงแม้จะเป็นแฝด แต่ก็มีอะไรที่แตกต่างกันคือ ปูนที่อยู่ที่อิฐแต่ละก้อน ตึก 1 จะแบบเว้าเข้า ตึก 2 จะนูนออก ของเจ๋งๆ แบบนี้ไปชมได้ที่คณะหนุ่มหล่อ พ่อรวยแถมฉลาดเป็นกรด
45. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มีตุ๊กแก (ตัวใหญ่มาก) ถูกเอาไปแปะไว้มุมบนขวาของตึก ไม่ใช่ปูนปั้น แต่มันเป็นโฟม แปะด้วยกาวสองหน้า อยู่ทนทานมานานจนผุกร่อน เลยดูคล้ายปูนปั้น ช่วงปรับปรุงตึกตุ๊กแกหายไป แต่ก็กลับมาใหม่ ตัวใหม่และสีสันสดใสไฉไลกว่าเดิม ทำเป็นไฟเบอร์ทำสีอย่างดี อยู่ในตำแหน่งเดิมเป๊ะ
46. สนามวอลเลย์บอลคณะรัฐศาสตร์ ปัจจุบันเป็นที่จอดรถ
47. คณะรัฐศาสตร์มีสนามฟุตบอลเป็นของตัวเอง และหวงมากด้วย
48. คณะนิเทศศาสตร์ที่ดูต้องใช้เครื่องมือเยอะๆ นั้น อดีตมีตึกเรียนเพียงสองตึก คือ ตึกหนึ่งและตึกสอง ตึกหนึ่งมีห้าชั้นใช้การได้สี่ชั้น และตึกสองมีหกชั้นใช้งานได้จริงๆ สามชั้น (สงสัยตัวเองเหมือนกันว่ายัดตัวเองอยู่ที่ไหนของคณะ) เป็นตึกจิ๋วๆ ที่อยู่ระหว่างครุศาสตร์กับนิติศาสตร์ นี่แหละ ปล.ก็อยู่กันใต้ถุน
49. คณะนิเทศศาสตร์สร้างตึกใหม่สูง 14 ชั้น ชื่อว่า มงกุฎสมมติวงศ์ ตึกนี้ใช้เวลาสร้างนาน 10 ปีเลยทีเดียว เพราะมีข้อจำกัดทั้งด้านงบประมาณ และเรื่องลี้ลับที่หลายคนก็สงสัยว่าทำไมถึงสร้างไม่เสร็จซักที แต่ตอนนี้เสร็จแล้วนะ
50. คณะนั้นแหละ คาดว่าเป็นคณะเดียวที่สามารถเปิดเพลงฟังได้ที่ใต้ถุนคณะ โดยไม่โดนอาจารย์ด่า หิหิ
51. ห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์สามารถคุยได้ แต่ถ้าเสียงดังเข้าขั้นตลาดสดเมื่อไหร่จะมีกริ่งเตือน นิสิตจะเงียบไปประมาณสองนาที แล้วก็คุยกันเหมือนเดิม
52. ห้องสมุดคณะอักษรศาสตร์เป็นห้องสมุดที่เงียบมาก เพราะเด็กอักษรไม่นิยมอ่านกันที่นี่ แหมก็อยู่ในเทวาลัย บรรยากาศมันวังเวงซะขนาดนั้น
53. ห้องสังสรรค์ เอ้ย!!ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ มีบรรณารักษ์ที่ดุที่สุดในโลก ไม่ต่างกับห้องสมุดคณะครุศาสตร์ ซึ่งเด็กครุเรียกกันว่า “หอน้อย” นั้นก็มีบรรณารักษ์ที่หน้าหัก ไม่รับแขก และไม่มีปากกาบริการยืมคืน นิสิตต้องใช้ของตัวเอง
54. พนักงานหน้าห้องคอมพิวเตอร์คณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นเกย์ ชอบแอบจับมือผู้ชายตอนขอดูบัตรนิสิต และถ้าหน้าตาถูกตาถูกใจพนักงานละก้ออาจได้ยินประโยคต่อท้ายว่า “ช่วยหันหลังให้ดูด้วยครับ” รวมทั้งถ้าไม่ยอมมองสบตาตรงๆ ก้ออาจโดนว่าด้วยว่า “ช่วยมองหน้าตรงๆ ด้วยครับ”
55. คณะที่ใกล้ห้างที่สุดคือสหเวชศาสตร์ ใกล้สยามที่สุดคือทันตแพทยศาสตร์
การเรียนการสอน
56. จุฬาฯ เป็นสถาบันเดียวที่มีสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์ 4 พระองค์ ได้แก่
- 4 ตุลาคม 2461 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย เสด็จมารับราชการที่จุฬาฯ นับเป็นเจ้าฟ้าอาจารย์พระองค์แรกของจุฬาฯ ในครั้งนั้นท่านทรงสอนวิชาภาษาอังกฤษที่คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์
- พ.ศ.2467-2468 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสอนวิชา vertebrate anatomy แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์ ทรงริเริ่มและสอนวิชาอารยธรรมและประวัติศาสตร์แก่นิสิตทุกคณะที่ลงทะเบียน ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่ 2
- พ.ศ.2495-2501 สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเคยเป็นอาจารย์สอนนิสิตชั้นปีที่ 4 คณะอักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดีฝรั่งเศส และ phone'tiquie สำหรับนิสิตปี 3 และ conversation ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 2 เมื่อพระองค์ท่านมีทรงงานเยอะขึ้น จึงต้องล้มเลิกการสอนไป (ถ้านิสิตคนไหนอยากดูพระฉายาลักษณ์ตอนที่ท่านเคยสอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ลองไปดูที่หอประวัติจุฬาฯ ชั้นสองได้ มีรูปและคำบรรยายประกอบด้วย) พระองค์ท่านทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่ 3
- พ.ศ.2522 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสอนวิชาอารยธรรมแก่นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนตามโครงการการศึกษาทั่วไป ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่ 4
57. คะแนนการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย จุฬาฯ มีคะแนนนำมาตลอดทุกคณะ/สาขาวิชา และที่นี่เปรียบเสมือนที่รวมหัวกะทิ ของประเทศ เด็กมัธยมทั่วประเทศกว่าร้อยละ 70 กำลังกวดวิชาเพื่อความหวังในการเข้าศึกษาในสถาบันแห่งนี้ แต่การเรียนใน จุฬาฯ หนักยิ่งกว่าแอดมิชชั่นส์เท่าตัว
58. วิชาที่นิสิตใหม่ทั้งมหาวิทยาลัยเรียนเหมือนกัน คือ Experential English I & II จัดสอนโดยสถาบันภาษา ยกเว้นนิสิตใหม่คณะอักษรศาสตร์ที่มีวิชาภาษาอังกฤษของคณะ
59. คะแนนอังกฤษ CUTEP ในจุฬาฯ คณะที่คะแนนเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก (โดยส่วนมาก) คือ 1.แพทยศาสตร์ 2.อักษรศาสตร์ 3.พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ส่วนคณะที่คะแนนเฉลี่ยต่ำสุด 3 อันดับ (โดยส่วนมาก) คือ 1.วิทยาศาสตร์การกีฬา 2.ศิลปกรรมศาสตร์ 3.จิตวิทยา
60. คณะ อักษรศาสตร์มีภาควิชาศิลปการละครด้วย แต่เป็นละครเวที มีโรงละครเป็นของตนเองในอาคารมหาจักรีสิรินธร อาคารใหม่ของคณะ แต่ละเทอมมีหลายเรื่องเหมือนกัน แต่แต่ละเรื่องก็แนวมาก น้องปีหนึ่งเข้ามาใหม่ๆ ต้องเริ่มด้วยการดูละครและวิจารณ์ละครเวที (ที่ดูยากมากๆ)
61. Human Relation คือ วิชาศึกษาทั่วไป (Gen Ed) ยอดฮิต ลงกันล้นจนต้องเปิดเซคเพิ่มทุกเทอม
นิสิต – นิสิตา
62. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ใช้คำว่า “นิสิต-นิสิตา”
63. พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงเข้าศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในปีการศึกษา 2548
64. หนุ่ม ที่สาวคณะต่างๆ หมายปองมักจะอยู่ฝั่งในเมือง เช่น สถาปัตยกรรมศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือ แม้กระทั่งหนุ่มๆ สิงห์ดำ (รัฐศาสตร์) สาวๆ ก็ไม่แพ้กัน สาวสวยที่ขึ้นชื่อในจุฬาฯ ก็ต้องยกให้อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ บัญชี...ทั้ง สวย รวย เก่ง...อืม!
65. เด็ก self จัด ในจุฬาฯ ต้องยกให้นิเทศฯ ศิลปกรรมฯ (สินกำ) แรงมากๆ ขอบอก สาวสวยก็ต้องอักษรฯ บัญชี สาวหรู ไฮโซต้องรัฐศาสตร์ สาวเปรี้ยวต้องเด็กนิเทศ สาวห้าวคือสาววิศวะ สาวดุต้องสาวครุ สาวเคร่งคือสาวนิติ
66. สมัยก่อน รู้หรือไม่ว่า นิสิตชายคณะรัฐศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ไม่ถูกกัน ถึงขนาดยกพวกตีกันในวันไหว้ครูในปีพ.ศ.2504 รัฐศาสตร์เสียเปรียบตรงกำลังคนน้อยกว่า 4 ต่อ 1 จนร้อนไปถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐศาสตร์ในสมัยนั้นต้องออกมาไกล่เกลี่ยด้วยตัวเอง มีคนว่ากันว่า “วิศวะชนะด้านยุทธวิธี แต่รัฐศาสตร์ชนะด้านยุทธศาสตร์”
67. นิสิตชายคณะอักษรศาสตร์ เรียกว่า Arts Men ซึ่งมีคิดว่าเป็น 1 ใน 10 ของนิสิตหญิง
68. เด็กอักษรชอบเด็กสถาปัตย์ แต่เด็กสถาปัตย์จะชอบกันเอง
69. นิสิตครุศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศึกษา เรียกตนเองว่า “ครุอาร์ต” ซึ่งมีอาคารเรียนเป็นของตนเอง คือ อาคาร 8
70. จุฬาฯ มีคณะพยาบาลศาสตร์ แต่ไม่เปิดหลักสูตรปริญญาตรี เพราะโรงพยาบาลจุฬาฯ รองรับนักศึกษาพยาบาลจากสภากาชาดไทยแล้ว
71. หลักสูตรปริญญาตรีล่าสุดของจุฬาฯ คือ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาวิจัยทรัพยากรการเกษตร เรียกนิสิตหลักสูตรนี้ว่า OCARE ซึ่งได้ไปศึกษาที่จุฬาฯ ศูนย์สระบุรีด้วย
72. คนภายนอกชอบมองว่าเด็กจุฬาฯ เป็นพวกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ แต่จริงๆ ควรมองเด็กจุฬาฯจากภายในและความสามารถมากกว่า
73. คู่ รักคู่แค้นของเด็กจุฬาฯ คือ เด็กธรรมศาสตร์ งานบอลแต่ละครั้ง ต้องประชันกันให้เหนือกว่ากัน ซึ่งค่าใช้จ่ายจากงานบอล แต่ละครั้ง สามารถซื้อบ้านหรูๆได้มากกว่า 5 หลัง
74. เพลงที่จุฬาฯ กับธรรมศาสตร์มีเหมือนกัน คือ “เดินจุฬาฯ-เดินมธ.” (แต่ เนื้อเพลงไม่เหมือนกัน ชื่อเพลงเหมือนกัน) เพลง เดินจุฬาฯ เป็นเพลงปลุกใจให้ฮึกเหิม ในการต่อสู้ที่ดีที่สุด อ้าว...เดิน เดิน เถอะรา นิสิตมหาจุฬาลงกรณ์
ประเพณีและกิจกรรม
75. พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เกิดขึ้นที่จุฬาฯ โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์พระราชทานให้แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์เป็นที่แรก
76. พระยาอุปกิตศิลปสาร เป็นอาจารย์สอนคณะอักษรศาสตร์ และได้สร้างกฎไว้ว่า ก่อนที่ท่านจะเข้ามาสอนหลังจากสอนเสร็จ-พบกันในเวลาอื่นๆ ให้นิสิตทุกคนไหว้ท่าน เพื่อเป็นการเคารพผู้เป็นอาจารย์ที่ให้วิชาแก่ตน และแสดงความนอบน้อมต่อผู้อาวุโสกว่า ซึ่งเป็นคณะแรกที่สอนแบบนี้
77. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศไทยที่เวลามีเสด็จฯ ต้องมีการตั้งซองรับเสด็จ นิสิตหญิง-ชาย นั่งพับเพียบกับพื้นถนนและก้มกราบบนพื้นเวลามีรถยนต์พระที่นั่งผ่าน
78. จุฬาฯ ยึดธรรมเนียมปฏิบัติไว้ว่าก่อนที่จะเข้ามาศึกษาชั้นปีที่ 1 ต้องมีพิธีการถวายสัตย์ปฏิญาณตน และ พอตอนเรียนจบปริญญาตรีก็ต้องมีพิธีการถวายบังคมลา นิสิตปี 1 ที่ได้มาถวายสัตย์จะรู้สึกว่าเริ่มต้นชีวิตนิสิตใหม่อย่างสมบูรณ์ และภาคภูมิใจในจุฬาฯ และสถาบันกษัตริย์
79. วันที่ 23 ต.ค. ของทุกปี นิสิต คณาจารย์ และบุคลากรจุฬาฯ จะไปทำพิธีเคารพสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า (เหมือนอยู่ในรั้วในวังกลายๆ เลย ศักดิ์สิทธิ์มาก และพิธีการนี้จะออกข่าวทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ทุกปี)
80. คำว่า “SOTUS” ต้นกำเนิดจากนิสิตจุฬาฯ ประมาณปี 2462 รุ่นนั้นสรรหาคำที่มีความหมายลึกซึ้ง มาประกอบกันเป็นคำว่า SOTUS แต่เด็กจุฬาฯ จะไม่อ่านว่า SOTUS จะเรียกว่า “คำขวัญทั้ง 5” และ S ที่ขึ้นต้น คือ Spirit ไม่ใช่ Seniority เหมือนสถาบันอื่นที่นำเอาไปใช้กัน
81. เมื่อถึงกิจกรรมรับน้องใหม่ทุกปี นิสิตรุ่นพี่จะนำใบหรือกิ่งจามจุรีเล็กๆ มาผูกริบบิ้นสีชมพูคล้องคอให้นิสิตใหม่เพื่อเป็นการต้อนรับเข้าสู่จุฬาฯ อาณาจักรแห่งจามจุรีสีชมพู
82. การรับน้องใหม่ของจุฬาฯที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปลายเดือนพฤษภาคม เรียกว่า “รับน้องก้าวใหม่” น้องใหม่ทั้งหลายจะได้จัดสรรเข้าบ้าน ซึ่งชื่อบ้านรับน้องก็จะมีหลากหลาย แต่กว่าครึ่งจะแปลได้สองแง่สองง่าม กิจกรรมที่ทำกันก็จะเน้นการเต้น กิน เต้น และก็เต้น ไม่มีว้าก ไม่มีโหด พี่ๆ เอาใจน้องๆ ราวกับพระเจ้า มีพี่บ้าน มีน้องบ้าน
83. งานรับน้องก้าวใหม่ เคยมีบ้านที่มีชื่อเป็นคำผวน เช่น บ้านเพชรกันยา แต่ต่อมาอาจารย์เริ่มผวนคำเป็น เลยไม่มีชื่อบ้านแบบนี้ให้เห็นอีก
84. เวลาแข่งกีฬาเฟรชชี่ หรืออะไรก็ตามที่ต้องใช้มีตัวเล่นเป็นผู้ชาย เช่น ฟุตบอล คณะอักษรศาสตร์ต้องระดมพล Arts Men ทั้งสี่ชั้นปีเลยทีเดียว
85. คณะที่จองรางวัลชนะเลิศการประกวดแสตนด์เชียร์กีฬาน้องใหม่ ปัจจุบันไม่ครุศาสตร์ก็สหเวชศาสตร์ อักษรศาสตร์ก็แรงใช่ย่อย
86. ส่วนคณะที่จองรางวัลชนะเลิศการประกวดผู้นำเชียร์กีฬาน้องใหม่ ไม่นิเทศศาสตร์ก็อักษรศาสตร์ ส่วนเด็กบัญชีสวยๆ แบบนั้น เค้าไม่ส่งประกวดทุกปี
87. คณะที่ทุกคนใฝ่ฝันเมื่อเห็นการแสดงเชียร์โต้ คือ ศิลปกรรมศาสตร์ และเพลงยอดฮิตติดหู คือ เพลงน้องนางลูบไข่ และเพลงโอ้ทะเล (บัลเลย์)
88. หอใน จะเรียกว่า “ซีมะโด่ง” จะมีกิจกรรมรับน้องเป็นของตัวเอง ว่ากันว่าช่วงเดือนมิถุนาทั้งเดือน แถวๆ มาบุญครอง จะได้ยินเสียงโวยวาย เสียงเพลง ตอนดึกๆ และเช้าตรู่
89. คืนวันคริสต์มาสและวันวาเลนไทน์ ที่หอในจะมีการตะโกนบอกรักกันข้ามหอ อิอิ (จริงๆ มันเป็นช่วงสอบแหละ เครียดๆ กันเลยหาเรื่องตะโกน) แต่เป็นเรื่องน่าแปลกที่มีนิสิตหอชยไม่น้อยที่ตะโกนบอกรักนิสิตหอชายอีกฟาก แทนที่จะไปอยู่ฟากหอหญิง
90. ประเพณีการโต้วาทีน้องใหม่ของชมรมวาทศิลป์ เรียกสั้นๆ ว่า “โต้ชี่” อาจารย์แม่มาเป็นกรรมการการโต้วาทีของน้องใหม่ของจุฬาฯ ติดกันมา 25 ปีแล้ว
91. นิสิตใหม่คณะวิศวกรรมศาสตร์เวลาเข้ากิจกรรมของมหาวิทยาลัยต้องตั้งซองจับมือไปเดินไปทั้งคณะ ระวังจะสปาร์คกันเองนะ
92. โทษทัณฑ์ที่หนักที่สุดในคณะรัฐศาสตร์สมัยก่อนที่รุ่นพี่ใช้ลงโทษน้องคือ “การโยนนํ้า” ซึ่งบรรยากาศของคณะในสมัยก่อนก็เอื้ออำนวย โดยบริเวณหน้าคณะฝั่งอังรีดูนังต์ จะมีคลองอรชรและมีสะพานข้ามมีชื่อว่า สะพานวรพัฒน์พิบูลย์ นอกจากนี้หน้าตึก 3 ยังมีบ่อนํ้าขนาดใหญ่ของสภากาชาด และเมื่อน้องๆ กระทำความผิดกฎที่รุ่นพี่บัญญัติไว้ ก็จะถูกชำระโทษโดยการจับโยนลงนํ้า ซึ่งปัจจุบันทั้ง 2 แห่งถูกถมเพื่อสร้างตึก การโยนนํ้าจึงสิ้นสุดไปโดยปริยาย
93. คนนอกจะมองคณะอักษรศาสตร์ว่าเป็นคณะหรูหราไฮโซ แต่เชื่อหรือไม่ ชาวอักษรแทบจะไม่จัดงานใดๆ ที่โรงแรมเลย ไม่มีการสิ้นเปลืองด้านนี้ ไม่ว่าจะเป็นเฟรชชี่ไนท์ บายเนียร์ ฯลฯ สถานที่ประจำ คือ ใต้อาคารหรือสนามบริเวณคณะ
94. คณะวิทยาศาสตร์มีการประกวดดนตรีอะคูสติก ชื่อว่า Under Tab (ส่วนใหญ่อ่านกันว่า “อันเดอร์แท๊บ”) จริงๆ แล้วที่มา คือ สมัยก่อนจัดงานใต้ตึกแถบ ซึ่งชื่อตึกหนึ่งของคณะวิทยาศาสตร์
95. คณะแพทยศาสตร์มี sing'n contest ด้วย แรกๆ มีแบคเป็น GMM ด้วยนะ
CU Lifestyle
96. Boom ของจุฬาฯ มี Boom 2 แบบด้วยกันคือ
แบบแรก Boom Ba La Ka...Bow Bow Bow…Chik Ka La Ka ...Chow Chow Chow…Boom Ba La Ka Bow…Chik Ka La Ka Chow…Who are we ?...CHULALONGKORN…Can you see Laaa… ซึ่งเป็นบูมที่ใช้ในอดีต
แบบที่ 2 Baka...Bowbow...Cheerka...Chowchow...Babow...Cheerchow...Who are we ?... CHULALONGKORN...Can you see Laaa… ซึ่งเป็นบูมที่ใช้ในปัจจุบัน
97. บูม Baka เป็นบูมที่ไม่เคยมีใครให้เหตุผลได้ว่า ทำไมต้อง baka ทำไมต้อง bow bow....
98. รู้หรือไม่ เวลาบูม Baka ปกติแล้วเค้าไม่กอดคอกันบูมนะ
99. คณะรัฐศาสตร์หรือชาวสิงห์ดำ เป็นคณะเดียวในจุฬาฯ ที่ไม่ใช้ คำว่า “Boom” แต่พวกเขาใช้คำว่า “ประกาศนาม” แทน
100. Boom ของคณะวิศวกรรมศาสตร์นั้นที่เกือบจะเป็นแฝดกับ Boom ของจุฬาฯ เลย ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เป็นเพราะเมื่อนานมากหลายสิบปีที่แล้วมีนิสิตชายวิศวะคิด Boom Baka ได้ เลยเอามาใช้กับวิศวะ (Who are we? - Intania) แต่เขาเป็นแฟนกับนิสิตหญิงที่เป็นประธานเชียร์ของจุฬาฯ เลยเอา Boom Baka มาใช้ของจุฬาฯ (Who are we? - Chulalongkorn)
101. เพลงหนึ่งที่บอกเล่าการใช้ชีวิตในจุฬาฯ คือ เพลงจามจุรีศรีจุฬาฯ...ตอนช่วงสุดท้ายของเพลงถือเสมือนการเตือน เรื่องการเรียนที่ฟังแล้วซึ้งจริงๆ
102. แทบจะไม่มีนิสิตจุฬาฯ คนใดที่จำเลขประจำตัวนิสิตไม่ได้และการลืมบัตรประจำตัวนิสิตในวันหนึ่งๆ เหมือนกับว่าเราแทบจะหมดสิทธิ์ทำอะไรหลาย ๆ อย่างไปเลย (แอบเห็นเด็กจุฬาฯ หลายคนแล้วนะที่พอจะเข้า BTS MRT แต่สอดบัตรผิด ใช้บัตรนิสิตสอดเข้าไป ต่อไปคงต้องขอทางกรมขนส่งให้เด็กจุฬาฯ ใช้บัตรนิสิตแทนบัตรรถไฟฟ้าแล้วล่ะมั้ง !!!)
103. สถานที่ที่เหมาะแก่การไปนั่งสวีทกัน คือ หอกลาง (อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ : หอสมุดกลาง) ด้วยวิวที่ดูเป็นเมืองนอกมาก มีวิวเป็นตึกหอพักหญิงสีน้ำตาล ยิ่งดูยิ่งโรแมนติก
104. ที่จุฬาฯ สามารถใช้พาหนะได้หลายอย่างและสะดวก คือ BTS MRT รถป็อป รถยนต์ เฮลิคอปเตอร์ (สภากาชาด) <--- แต่อันนี้คงไม่สะดวกมั้ง และเรือ (ที่สะพานหัวช้าง)
105. รถโดยสารภายในจุฬาฯ เรียกกันติดปากว่า “รถป๊อป” ซึ่งมีที่มาจาก “รถ ปอ.พ.” หรือปรับอากาศพิเศษ ซึ่ง 30% ของนิสิตจุฬา มารู้เอาตอนอยู่ปี 3 ว่า “รถป๊อป” มาจากคำว่า “ปอ.พ.”
106. ปัจจุบันรถป๊อปกลายสภาพเป็นรถไฟฟ้าแล้วนะ สีชมพูแหววเหมือนเดิม รถกระชากแรงมาก ควรจับราวให้ดี อาจารย์ท่านหนึ่งของวิชา REC CAMP เคยบอกไว้ว่าเวลาขับรถต้องระวังข้างหลังดีๆ เพราะรถไฟฟ้าขับมาเงียบมาก เกือบชน
107. รถป๊อปในอดีตมี 4 สาย แต่สาย 3 ถูกยกเลิกไป เพราะเด็กจุฬาฯ ฝั่งคณะแพทยศาสตร์ไม่ค่อยนั่ง
108. ก่อนมีรถป๊อป ไม่เคยมีการใช้มอเตอร์ไซค์หรือจักรยาน เดินจุฬาเท่านั้นพี่น้อง น่องโป่งเลย...ซึ่งปัจจุบันนิสิตจุฬาฯ ก็เลือกที่จะเดินมากกว่าขึ้นรถป๊อป เพราะรอนานเป็นชาติกว่าจะผ่านมา
109. การเดินสยามถือเป็นการเดินช่วยย่อยได้ดี ไม่ต้องซื้ออะไรหรอก...เพราะมันแพง
110. นิสิตบางคนทึกทักเอาเองว่า DotA คือกีฬาประจำมหาวิทยาลัยลัย (จะสู้เด็กเกษตรฯได้เหรอ)
อาหาร
111. คณะ วิศวกรรมศาสตร์มีความหลากหลายในอาหาร หนุ่มๆ หล่อเพียบ ก๋วยเตี๋ยวอร่อยทั้งสองร้าน อาหารตามสั่งร้านเจ๊กุ้งอร่อยมาก (อะไรก็ได้แต่ขอให้ใส่ปลาทอด)
112. คณะอักษรศาสตร์ขึ้นชื่อในความอร่อยคงเป็นเมนูหลัก คือ ข้าวเหนียวไก่ทอด
113. คณะ รัฐศาสตร์ ก็ไม่แพ้กัน งัดเมนูเด็ดๆ มาแข่งจากร้านก๋วยเตี๋ยวอดทน อดทนจริงๆ (เพราะป้าทำช้ามากกกกก) และแพงจริงๆ (ใครกินฟูลออฟชั่น เหยียบ 50 แพงสุดถึง 70)
114. คณะครุศาสตร์ก็มีร้านน้ำปั่นอร่อย เครื่องดื่มขึ้นชื่อ คือ โอริโอ้ปั่นใส่วีฟครีม ลูกค้าหลักคือเด็กเตรียม
115. คณะ ทันตแพทยศาสตร์มีโรงอาหารติดแอร์และใช้การ์ดซื้ออาหารเพียงคณะเดียว ก็เพราะอยู่ตรงข้ามสยามสแควร์ไงล่ะ คุณภาพสยามแต่ราคาเป็นกันเอง
116. โรง อาหารวิศวะเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดคณะและจำนวนคน จึงทำให้นิสิตต้องไปกินโรงอาหารข้างเคียง เช่น อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ แต่บางทีก็ไปด้วยสาเหตุอื่น เช่น ส่องสาว (See-food) ซึ่ง สมัยก่อนโรงอาหารเปิดโล่ง ปัจจุบันมีกรงล้อม เนื่องจากเหตุการณ์นกพิราบบุกกินอาหารที่คนวางไว้บนโต๊ะ (ในช่วงไปซื้อน้ำ) และที่เก็บจาน คาดว่าเหตุการณ์เกิดจากนักศึกษาว่างจัดไม่มีอะไรทำซื้อถั่วเลี้ยงนก เลี้ยงจนบินมากินถั่วในมือได้ จนมันไม่กลัวคนเริ่มบุกโรงอาหารในกาลต่อมา
117. โรงอาหารคณะเศรษฐศาสตร์-บัญชี อยู่ที่ตึกสีขาว โปร่งโล่งสบาย ลมเย็นมาก ๆ ด้วย แต่พอฝนตกทีก็... อาหารขึ้นชื่อ คือ ยำไก่ทอด และไอติมบัญชี
118. โรงอาหารคณะนิติศาสตร์ เป็นโรงอาหารที่มีเด็กสาธิตจุฬาฯ และเด็กนิเทศนั่งกินมากที่สุด (เปล่านะ เราใช้รวมกันหรอก)
119. อาหารที่อร่อยที่สุดของโรงอาหารตึกจุล คือ “น้ำเปล่า”
120. กว่าร้อยละ 60 ของนิสิตจุฬาฯ ต้องเคยกินเวเฟอร์ ที่สหกรณ์จุฬาฯ ศาลาพระเกี้ยว เพราะกลิ่นที่ชวนไปลิ้มลองแน่ๆ เลย
121. ร้านสเต็กสามย่านที่ใช้โต๊ะเหล็ก เขียนตัวนูนบนโต๊ะว่า “จุฬาฯ”
122. ลุงฟรุ๊ตตี้ขี่เวสป้ามาขายผลไม้ในจุฬาฯ ทุกวันตอนเย็น
123. จุฬามีหมูปิ้งเดลิเวอร์รี่ด้วยนะ โทรสั่งได้ไว้จะเอามาแปะไว้
124. เครปหน้าหอในอร่อยและถูกกว่าเครปในศาลาพระเกี้ยว
เบ็ดเตล็ด
125. เพียงพลิกธนบัตร 100 บาท ก็จะเห็นอนุสาวรีย์พระบรมรูป 2 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 5 และ 6 ที่ประดิษฐาน ณ จุฬาฯ (เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวที่มีพระบรมรูปแบบเดียวกับในธนบัตร)
126. จุฬาฯ มีแบรนด์เป็นของตัวเอง ทั้งกระเป๋าหลายรูปแบบหลายสี สมุด เสื้อ หมวก ร่ม ผ้าขนหนู กรอบรูป แฟ้ม นํ้าดื่ม ที่ทับกระดาษ ฯลฯ ที่เป็นตราจุฬาฯ
127. จุฬาฯ มีสถานีวิทยุของจุฬาฯ เป็นของตัวเอง คือ คลื่น 101.5 FM
128.“จีฉ่อย” มีทุกสิ่งในโลก หุหุ อยากได้ไรมาร้านนี้ ย้ำว่าทุกอย่าง อยากได้ตั๋วเครื่องบิน จีฉ่อยก็ขายให้ได้ เปียโนยังมีขายเลย (ไม่รู้แกไปเอามาจากไหนงะ!) รถยนต์แกเอามาขายให้ได้ถ้าเราสั่ง ฮาร์ดดิสยังขายเลย ฮ่วย! เคยอ่านเจอในนิตยสารสายใย ของคณะนิเทศศาสตร
>>169เรื่องน่ารู้ของจุฬา มหาวิทยาลัย ซำขออภัย
ladyzaza | #1 24-04-2011 - 09:32:37 ![]() | ![]() ![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
นาe Lชิ่มLบอะ | #2 24-04-2011 - 09:37:27 ![]() | ![]() ![]() | |||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
|
piastmc | #3 24-04-2011 - 09:40:21 ![]() | ![]() ![]() | |||
![]() ![]() |
|
bupachart | #4 24-04-2011 - 09:41:52 ![]() | ![]() ![]() | |||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
|
ladyzaza | #5 24-04-2011 - 09:45:19 ![]() | ![]() ![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
|
ladyzaza | #6 24-04-2011 - 09:46:40 ![]() | ![]() ![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
|
ladyzaza | #7 24-04-2011 - 09:51:23 ![]() | ![]() ![]() | |
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
|
Gwiyeounss | #8 24-04-2011 - 09:54:25 ![]() | ![]() ![]() | |||
![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
|
panxz | #9 16-05-2011 - 10:17:23 ![]() | ![]() ![]() | |
![]() ![]() |
|
Khing_kha | #10 16-05-2011 - 10:20:02 ![]() | ![]() ![]() | |||
![]() ![]() ![]() |
|

- 1
![]() | ลงข้อความได้เฉพาะสมาชิก ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้ |


โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล] |