โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ
ชีวิตในยุคกลาง
ไอ้เติ้ล
#1
ไอ้เติ้ล
21-12-2013 - 21:43:51

#1 ไอ้เติ้ล  [ 21-12-2013 - 21:43:51 ]




สรุปสภาพทั่วไปของชีวิตในสังคมสมัยกลาง



สรุปสภาพทั่วไปของชีวิตในสังคมสมัยกลาง
•ขาดความปลอดภัย เพราะรัฐบาลกลางไม่เข้มแข็งพอที่จะคุ้มครองประชาชนได้นอกจากในประเทศอังกฤษ ขุนนางเจ้าของที่ให้ความคุ้มครองก็มักจะห่วงเรื่องทรัพย์สินของตนมากกว่า ตามถนนหนทางเต็มไปด้วยพวกโจรผู้ร้าย แม้แต่ขุนนางเองบางครั้งก็แอบหนีลงมาจากปราสาทของตนเพื่อมาปล้นพ่อค้า พวกนักแสวงบุญ และนักแสวงโชคที่เดินผ่านมาก็จะถูกจับไปเรียกค่าไถ่
•สงครามระหว่างเจ้าผู้ครองนคร ถึงแม้จะไม่ยิ่งใหญ่เท่าสงครามระหว่างชาติ แต่ก็ทำความเสียหายไม่น้อย เนื่องจากมีการจู่โจม ทำลายทรัพย์สินและชีวิตซึ่งกันและกัน พวกที่ต้องทุกข์ทรมานจากสงครามมากที่สุดก็คือพวกชาวนา พระตามวัด และสามัญชน
•น้ำท่วมและโรคระบาด ถนนหนทางแออัดยัดเยียดกลายเป็นแหล่งเพาะแพร่เชื้อโรค บางครั้งคนกลุ่มหนึ่งหนีโรคระบาดจากหมู่บ้านของตน แต่ตัวเองกลับกลายเป็นผู้นำเชื้อโรคจากที่อยู่ของตนไปแพร่เสียเอง
•ความเชื่อในโชคลาง บางครั้งเมื่อไม่สามารถจะจัดการกับโรคระบาดและภัยธรรมชาติได้ ก็จะหันไปโทษว่าเหตุการณ์ร้ายแรงนั้นเกิดขึ้นเพราะมีอำนาจลึกลับบันดาลให้เป็นไป เป็นการลงโทษคนบาป จึงเป็นเหตุที่จัดพิธีบูชานักบุญต่างๆ
•ความก้าวหน้าในด้านต่างๆ เช่น
•การเพิ่มจำนวนประชากรอย่างสม่ำเสมอ
•คนชั้นต่ำได้รับอิสรภาพมากขึ้น
•เนื่องจากการฟื้นฟูการค้าและอุตสาหกรรมทำให้มีกลุ่มคนที่มีฐานะดีเกิดขึ้น
•ศตวรรษที่ 13 กลายเป็นศตวรรษแห่งการแพร่ขยายกิจการทางเศรษฐกิจทั้งในชนบทและในเมือง ยุคกลางตอนกลาง (High Middle Ages) นี้กลายเป็นสมัยแห่งความก้าวหน้าทางด้านการศึกษา วรรณคดี ปรัชญา ศิลปะและดนตรี

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากความก้าวหน้านี้น้อยที่สุดก็คือ ชาวนา พวกชาวนาชาวไร่จะกลายเป็นคนชั้นต่ำที่สุดในสังคม

เมืองและชนชั้นกลาง-การค้าและอุตสาหกรรม
การปฏิวัติทางสังคมและเศรษฐกิจอันยิ่งใหญ่เป็นจุดที่น่าสนใจยิ่งในยุคกลางตอนกลาง การค้าและอุตสาหกรรมเป็นผลให้นครต่างๆเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น พร้อมกับเริ่มสมัยของชนชั้นกลาง มีพวกชาวเมืองที่ถูกเรียกว่า “burghers” อาศัยอยู่ในเมืองล้อมรอบด้วยกำแพงที่เรียกว่า “burgs” ซึ่งมิได้จัดรวมอยู่ในสังคมฟิวดัล เนื่องจากเป็นพวกที่มิได้ทำงานในเนื้อที่นาของลอร์ด และก็มิใช่นักรบที่เกิดในสกุลขุนนาง ตรงกันข้ามคนพวกนี้เป็นคนรุ่นใหม่ที่เรียกว่า “เสรีชน” (free men) ซึ่งแม้จะเกิดในสกุลสามัญ แต่ก็ดำเนินชีวิตอิสระทำการค้าและอุตสาหกรรม ใช้เงินตราในการแลกเปลี่ยน รวมกันเข้าเป็นกลุ่มก้อนเพื่อการป้องกันร่วมกัน มีการปกครองตนเองด้วย คนกลุ่มนี้มีจำนวนอยู่ไม่มากถ้าเปรียบกับจำนวนของพวกชาวนา และทางฝ่ายพวกขุนนางนักรบทั้งหลายก็ไม่ชอบ ทางพระก็เห็นว่าคนกลุ่มนี้เป็นอันตรายต่อจิตวิญญาณแห่งความเป็นมนุษย์ แต่ทว่าชาวเสรีชนนับวันก็ยิ่งมีความมั่งคั่งขึ้นเรื่อยๆจนสามารถจัดซื้อแม้กระทั่งที่ดินของพวกขุนนาง เปลี่ยนสังคมให้มีการนับถือความมั่งคั่ง กลายเป็นนครเล็กๆที่ได้เริ่มรูปแบบสังคมขึ้นใหม่

การฟื้นฟูการค้าและกำเนิดเมือง
อารยธรรมโรมันที่จัดเป็นอารยธรรมคนเมืองนั้น ขึ้นอยู่กับการค้าที่แพร่ขยายออกกว้างขวางไปเรื่อยๆ เมื่ออาณาจักรโรมันล่ม การค้าก็สลาย เมืองต่างๆก็พลอยซบเซา คงเหลือแต่เฉพาะนครใหญ่ๆ ทางภาคตะวันออกทั้นที่ยังคงอยู่ เช่น กรุงคอนสแตนติโนเบิล เมืองทางภาคตะวันออกนั้นถูกพวกอนารยชนทำลาย ยิ่งในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7และ8 ทางภาคตะวันตกก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกมอสเล็ม ทำให้ดินแดนคริสเตียนทางภาคตะวันตกถูกตัดขาดจากพื้นทะเลเมดิเตอร์ริเนียนและบริเวณเส้นทางการค้าของโลกด้วย
ต่อมาก็เป็นสมัยการรุกรานของพวกนอร์ทเมนทางภาคตะวันตก ตัดขาดชายฝั่งมะเลภาคตะวันตกจดจนทิศเหนือ ตลอดคริสต์ศตวรรษ 8, 9 และ 10 ยุโรปตะวันตกจึงมีลักษณะเหมือนถูกปิดล้อม การค้าขายมีเพียงเล็กๆน้อยๆโดยพวกพ่อค้าซีเรียนและอิตาลี แต่ละแมเนอร์ต่างผลิตสิ่งของใช้เอง ซื้อขายกันอยู่เฉพาะในแมเนอร์ นครต่างๆจึงลดความสำคัญลงโดยสิ้นเชิง จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 จึงมีการฟื้นฟูการค้าขึ้นใหม่

เวนิสเริ่มเป็นคู่แข่งการค้าที่สำคัญ







เมืองเวนิสเริ่มก้าวหน้า
ทางด้านการค้าระหว่างประเทศในยุโรปเมืองเวนิสก็เป็นเมืองแรกที่ค่อยๆสร้างสัมพันธภาพทางการค้ากับ
กรุงคอนสแตนติโนเบิล การสร้างสถานีทางการค้าทางภาคตะวันออกสมัยสงครามครูเสด ทำให้การค้าระหว่างสองเมืองดังกล่าวเจริญขึ้น ส่วนเมืองเจนัวและปิซ่ากลายมาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของเวนิส






แคว้นแฟลนเดอร์
ในยุโรปภาคเหนือแคว้นแฟลนเดอร์ (ปัจจุบันคือประเทษเบลเยี่ยม) ได้กลายเป็นศูนย์กลางการค้า หลังจากที่ชาวเหนือเริ่มยุติการรุกราน แล้วก็ได้หันมาสนใจด้านการค้าระว่างประเทศ ดังนั้น จึงทำให้เกิดการค้าระหว่างทะเลบอลติคและทะเลเหนือขึ้น
จากจุดสถานีการค้าทั้ง 2 แห่งในภาคเหนือและภาคใต้ของยุโรป ดังกล่าวมาแล้วนั้น การค้าก็เริ่มขยายตัวมากขึ้น ภายในดินแดนทางภาคพื้นทวีป เมืองต่างๆบนที่ราบลอมบาร์ดและในแคว้นทัสคานี (Tuscany) ก็เริ่มพัฒนาด้านความสัมพันธ์ทางการค้ากับเมืองท่าต่างๆ ราวศตวรรษที่ 12 ฝรั่งเศสภาคใต้และประเทศสเปนส่วนที่นับถือคริสตศาสนา ก็ได้เข้าร่วมทำการค้าด้วย นอกจากดินแดนทั้ง 2 แห่งนี้ ก็ยังมีการค้าในอิตาลีด้วย พ่อค้าเดินทางมาจากอิตาลีไปค้าขายในฝรั่งเศสและเยอรมัน โดยอาศัยถนนและแม่น้ำเป็นเส้นทางติดต่อ และก็จะมีพ่อค้าจากภาคเหนือของทวีปยุโรปล่องเรือจากชายฝั่งแคว้นแฟลนเดอร์มาตามลำน้ำเข้าสู่ภาคใต้ของยุโรป เป็นระยะเวลานานเลยทีเดียวที่ที่ราบแห่งแคว้นชองปาญ (Champagne) ที่อยู่ระหว่างแคว้นแฟลนเดอร์กับอิตาลี ได้กลายเป็นจุดนัดพบที่สำคัญสำหรับพ่อค้าจากดินแดนประเทศต่างๆ
พ่อค้าในสมัยกลางต้องเสี่ยงกับการถูกปล้นสินค้าทั้งทางบกและทางเรือ ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับสมัยนั้น พ่อค้าก็จะป้องกันด้วยการเดินทางไปด้วยกันเป็นกองคาราวานเล็กๆ นับว่าเป็นการร่วมมือกันป้องกันได้เป็นอย่างดี

การเดินทางที่ปลอดภัยเป็นเครื่องกระตุ้นให้การค้าก้าวหน้า
ความยากลำบากในการขนและบรรทุกสินค้า ทำให้บรรดาพ่อค้าจำต้องเลหลังขายสินค้าของตน ณ สถานที่นัดพบแห่งใดแห่งหนึ่งที่ตนเลือกไว้ (หรือที่เรียกว่าการจัด Fair อันเป็นหัวใจสำคัญของการค้าในสมัยนั้น) ดังนั้นจึงมีการจัดงานชุมนุมสินค้าขึ้นทุกปี
จากการมีงานชุมนุมสินค้าเคลื่อนที่เช่นนั้น ทำให้ชาวทวีปยุโรปภาคตะวันตกได้มีโอกาสใช้สินค้าจากดินแดนภาคตะวันออก ทำให้มีความต้องการผลิตผลทางภาคตะวันนออกมากขึ้น เช่นเดียวกันทางภาคตะวันออกเองก็เร่งเพิ่มผลผลิตสินค้าให้มากขึ้น เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนสินค้าที่หรูหราฟุ่มเฟือยกับดินแดนทางภาคตะวันออก
ผลจากการที่การค้ามีปริมาณเพิ่มขึ้นทำให้
•การแข่งขันด้านการค้าต่างประเทศ ทำให้เมืองต่างในยุโรปเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว บรรดาพ่อค้าก็เดินทางไปเรื่อยๆตลอดเวลา พวกนี้ต้องการที่ตั้งมั่นที่ไหนสักแห่ง เมืองเหล่านี้ไม่เพียงแต่เป็นสถานีการค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เกิดการ่วมมือกันป้องกันอีกด้วย
•การมีงานชุมนุมสินค้าประจำปี ไม่มีความหมายเสียแล้ว พวกลูกค้าต้องการได้ผลผลิตใหม่ๆตลอดทั้งปี ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้สถานที่ตั้งศูนย์กลางการค้าสำคัญมาก
•การค้าระหว่างประเทศ กระตุ้นให้เกิดการค้าระหว่างเมืองต่างๆ และยังทำให้ระบบคฤหาสน์ค่อยๆสลายตัวลงไป
•การค้าระหว่างประเทศก่อให้เกิดการอุตสาหกรรมช่างฝีมือขึ้น บางพวกก็ต้องทำพวกเสื้อผ้า อาวุธ เกราะ เพื่อไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าอื่น เริ่มมีช่างฝีมือมากขึ้นและยังต้องการศูนย์กลางในการทำงาน ผลิตสินค้า และขายสินค้าของตน

บางทีก็มีการตั้งเมืองใหญ่ๆตามสี่แยกของเส้นทางการค้าที่สำคัญ เช่นบริเวณที่แม่น้ำทั้งสองสายมาบรรจบกัน บางทีก็เริ่มที่การจัดตั้งเป็นหมู่บ้านรอบๆกำแพงปราสาท (พร้อมที่จะอพยพหนีได้ง่ายๆหากมีการโจมตี) บริเวณเหล่านี้เรียกว่า เบอร์ก (burgs) และประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้เรียกว่า burghers
พวก burghers นี้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และในที่สุดก็ค่อยๆกลืนปราสาทดั้งเดิมเสีย และต่อมาก็ต้องสร้างกำแพงที่ใหญ่ที่สุดเพื่อป้องกันเมืองทั้งเมือง

เมืองที่สร้างใหม่เหล่านี้ทำการปกครองกันอย่างไร?
ประชาชนที่อาศัยอยู่ใน burgs นี้ เริ่มแรกทีเดียวปกครองโดยพวกขุนนางในท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่นั่นเอง แต่ทว่าข้อจำกัดบางประการบวกกับราคาภาษีทำให้จัดขวางเสรีทางการค้า ยิ่งพวก burghers ร่ำรวยขึ้นมากเท่าไรก็ยิ่งเรียกร้องเสรีภาพจากขุนนางมากขึ้นเท่านั้น และก็มีบางคนก็ยังคงต่อสู้เพื่อเสรีภาพของตน
เสรีภาพขากการควบคุมนั้น ได้ให้แก่ประชาชนโดยออกเป็นกฎบัตร ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างคนในเมืองและพวกขุนนาง การปกครองนั้นอยู่ในมือของสภา (council) และในจำนวนของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นชาวเบอร์กที่ได้รับเลือกตั้งเข้ามานั้นเอง สภานี้ก็เก็บภาษีทุกอย่าง ไม่ว่าจะรายได้ทางตรงหรือทางอ้อมจากการขายสินค้าทั้งหมด นอกจากนี้ สภายังมีหน้าที่ป้องกันประเทศและกิจการสาธารณะต่างๆตลอดจนพิจารณาให้ความยุติธรรม
สิทธิในการปกครองยังคงจำกัดอยู่เฉพาะบุคคลที่มั่งคั่งเท่านั้น เป็นสิทธิพิเศษที่ทำให้พวกมั่งคั่งนี้พยายามกีดกันพวกยากจนและคนต่างถิ่นนอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งตลาดในเมืองและ
เก็บภาษีจากประชาชนที่นำสินค้ามาขายในตลาดอีกด้วย

เมืองในสมัยกลางมีสภาพอย่างไรบ้าง?
เมืองในสมัยกลางมีความแออัดมาก และไม่ถูกสุขลักษณะด้วย บรรดาสัตว์ต่างๆ เช่น หมูก็ถูกปล่อยให้เดินไปตามถนน วัว ควาย และม้าก็เลี้ยงเอาไว้ใกล้ๆกับบ้านเมืองที่อาศัยอยู่นั่นเอง ขยะก็เททิ้งลงไปตามถนน โดยปล่อยให้ฝนชะล้างไปจนหมดเอง โรคกาฬโรคตลอดจนโรคติดต่ออื่นๆก็กลายเป็นโรคธรรมดาที่คนในสมัยนั้นต้องประสบ
บ้านก็สร้างด้วยไม้จึงเกิดไฟไหม้บ่อยๆ ไม่มีสถานีดับเพลิง สถานีตำรวจ สถานีอนามัย หรือ แม้กระทั่งบริการน้ำประปา
ลักษณะโดยทั่วไปของเมืองในสมัยกลางก็คือ มีคูล้อมรอบเป็นกำแพงเมือง ซึ่งผู้คนจะเข้าไปติดต่อในเมืองได้ก็ต้องข้ามสะพานชักเข้าไป สะพานนี้ก็สร้างไว้เพื่อป้องกันการถูกศัตรูโจมตี คือ เมื่อมีข้าศึกมาก็จะได้ชักขึ้นได้ทันที มีเมืองเล็กๆอยู่เพียง 2-3 เมืองที่มีวิธีพิเศษในการที่จะทำความสะอาดถนนที่มีน้ำปะปาที่สะอาด และมีสถานที่อาบนำสาธารณะ เมืองอื่นๆก็คล้ายกับเมืองที่ร่ำรวยในอิตาลีและแฟลนเดอร์ คือ มีสิ่งก่อสร้างสาธารณะใหญ่ๆ จำนวนประชากรในเมืองในสมัยกลางนั้นมีจำนวนไม่มากนัก เมื่อเทียบกับมาตรฐานในปัจจุบัน เมืองพาเลอร์โม (Palermo) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นที่ 2 ในทวีปยุโรป (รองจากเมืองคอนสแตนติโนเบิล) เมืองพาเลอร์โมมีประชากรประมาณ 500,000 คน ปารีสมีประชากรประมาณ 200,000 คน เวนิสมีน้อยกว่าเพียงเล็กน้อย เมืองขนาดกลางมีประชากรประมาณ 50,000 คน ที่มีประชากรเพิ่มขึ้นตามเมืองต่างๆก็เพราะพวกทาสที่หนีไปจากคฤหาสน์
วัดได้เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในสมัยกลาง วัดที่สร้างขึ้นมาก็สร้างขึ้นอย่างงดงาม ด้วยความร่วมแรงร่วมใจจากช่างฝีมือและคนงาน ผลงานในการสร้างวัดนี้นับเป็นผลงานทางด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมที่งดงามมาจวบจนถึงทุกวันนี้

เมืองต่างๆมารวมกันเพื่อการป้องกันร่วมกัน
สมาคมลอมบาร์ค (Lombard League) ซึ่งเป็นสมาคมของเมืองต่างๆทางภาคเหนือของอิตาลี รวมกำลังกันเพื่อป้องกันการรุกรานของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ บางทีก็มาร่วมมือกันเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า สมาคมแฮนซีเอติคซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างพวกเมืองต่างๆทางภาคเหนือของเยอรมัน เพื่อควบคุมการค้าทางทะเลเหนือ และ ทะเลบอลติคเป็นเวลาหลายร้อยปี
 2091689


sedsuna_IssyI
#2
22-12-2013 - 19:33:54

#2 sedsuna_IssyI  [ 22-12-2013 - 19:33:54 ]





เป็นความรู้ดีๆ ขอบคุณมากค่ะ (จะเอาไปแต่งนิยาย)



กลับมาเล่นซิมส์ละๆ
  • 1

ลงข้อความได้เฉพาะสมาชิก
ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก



ข้อมูลเมื่อ 12th May 2024 23:24

โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ