เกร็ดความรู้
ชุดไทยของหญิงสาวในสมัยโบราณจวบจนปัจจุบัน
ชุดไทยของหญิงสาวในสมัยโบราณจวบจนปัจจุบัน
ที่มา : weddingsquare
สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19-23
ในระหว่าง พ.ศ. 1893-2310 สมัยกลางของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นช่วงที่ศิลปวัฒนธรรมของไทยเจริญสูงสุดบ้านเมืองค่อนข้างสงบสุขหญิงสาวในสมัยนั้นนอกจากจะสวมสไบยาวแต่งกายด้วยผ้าซิ่นสวยงามแล้วชาวบ้านบางส่วนที่ต้องทำงานหรือทำสวนก็จะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ทะมัดทะแมง อีกทั้งในบางช่วงของประวิติศาสตร์ก็มีผู้มาบุกรุก ประปราย ทำให้ประชาชนทั้งชายหญิงก็ต่างก็ต้องเตรียมพร้อมที่จะป้องกันภัยสงครามที่จะเกิดขึ้กับบ้านเมืองได้ทุกเวลา จึงได้มีการนำผ้าสไบ มาผูกไขว้เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว
สมัยรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 23 (รัชกาลที่ 1-3)
ในระหว่าง พ.ศ. 2325-2369 ในสมัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ปราบดาภิเษกเริ่มรัชกาลที่ 1 สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ บ้านเมืองในยุคนี้ อยู่ในลักษณะ สงบเรียบร้อย หญิงสาวสมัยนี้จึงแต่งกายสวยงามปล่อยชายสไบยาว ตกแต่งด้วยเครื่องประดับต่างๆสวยงามแต่ในช่วงรัชกาลที่และรัชกาลที่ 3 พม่าได้เข้ามาทำสงครามกับสยามอยู่ประปราย การแต่งกายยุคนี้บางทีจึงกลับไปแต่งกายแบบปลายอยุธยาซึ่งนุ่งโจงกระเบนห่มสไบเฉียงผ้าซิ่นก็นุ่งสั้นขึ้นเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความคล่องตัว ส่วนผมยังคงตัดสั้นไว้เชิงสั้นหรือไว้ผมปีก(คือการไว้ผมยาวเฉพาะกลางศีรษะ)
ส่วนชาววังจะนิยมนุ่งผ้าจีบ ห่มสะไบเฉียงทับเหมือนอย่างอยุธยา คงเพราะไม่ต้องเคลื่อนไหวหรือทำงานมากนั่นเองส่วนทรงผมจะไม่สั้นมากเหมือนชาวบ้าน แต่จะไว้ผมปีกปล่อยจอนที่ข้างหู
รัชกาลที่ 4
เครื่องแต่งกายในสมัยนี้ ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนไปจากยุคต้นรัตนโกสินทร์มากนัก โดยหญิงสาวยังคงนุ่งผ้าลายโจงกระเบนเหมือนเดิมเพิ่มเข้ามาก็คือการใส่เสื้อคอปิดแขนยาว แล้วห่มสะไบเฉียง (นิยมอบร่ำให้หอมด้วย) ทับตัวเสื้ออีกชั้นหนึ่ง คาดว่าเสื้อแบบนี้คงเป็นผลมาจากการที่ชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาในพระนครมากขึ้น จึงนำเสื้อแนวนี้เข้ามาเผยแพร่ให้กับคนไทยในสมัยนั้น ส่วนทรงผมก็ยังนิยมไว้ปีกผมหรือตัดสั้นอยู่เพราะคล่องตัวดูแลง่ายและไม่ร้อน
รัชกาลที่ 5
ผู้หญิงในสมัยรัชกาลที่ 5 หันมานิยมก็คือเสื้อของอังกฤษกันมากเพราะชาวตะวันตกเริ่มเข้ามา มีบทบาทในกระแสวัฒนธรรมของไทยมากขึ้นเสื้อที่นิยมกันตอนนี้ก็คือเสื้อคอตั้งแขนยาว ต้นแขนตรงไหล่พองคล้าย ขาหมูแฮมแต่ยังคงมีผ้าห่มเป็นแพรห่มแบบสะไบเฉียงแบบไทยอยู่ ส่วนผ้าซิ่นนิยมนุ่งผ้าจีบไว้ชายพกสวยงาม ยาวกรอมเท้า ทรงผมนั้นนิยมไว้ทรงดอกกระทุ่ม แบบที่เสยข้างหน้าสูงแต่ด้านหลังสั้นแค่ต้นคอ
ในสมัยปลายรัชกาลที่ 5
หญิงไทยเลิกนุ่งผ้าจีบโดยสิ้นเชิง แต่เปลี่ยนมานุ่งโจงกระเบนแทนกลายเป็นแนวนิยมในสมัยนั้น ส่วนที่เปลี่ยนแปลงชัดเจนที่สุดคงเป็นการเปลี่ยนการนุ่งผ้าสไบ มาเป็นการสวมเสื้อแบบผรั่งคอตั้งสูงแขนยาวมีลูกไม้ตกแต่งเป็นระ บายหลายชั้น เหมือนเสื้อผ้าของสาวๆชาวตะวันตกหันมาสวมถุงเท้า รองเท้าส้นสูงซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนของวัฒนธรรมการแต่งตัวในสมั ยนั้นเลยก็ว่าได้ ส่วนผมก็เริ่มไว้ยาวประบ่าเลิกรวบผมใส่น้ำมันจนเรียบเหมือนในสมัยก่อน
รัชกาลที่ 6
ในสมัยต้นต้นรัชกาลที่ 6 ผู้หญิงยังคงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อประดับลูกไม้แบบ ตะวันตกเหมือนในสมัยปลายรัชกาลที่ 5 แต่มีการปรับแบบให้ทันสมัยขึ้นคอเสื้อลึกไม่ปิดคอแต่ตัดเป็นผ้าโปร่งบางพลางเอาไว้ให้ดูมิดชิด แขนยาวเสมอข้อศอก หรือยาวกว่าหน่อยมีการประดับระบายที่ปลายแขน ยังคงนิยมห่มผ้าแพรบางๆ สะพายทับ เริ่มมีการนำลูกไม้จากต่างประเทศมาตัดเย็บเป็นชุดปักประดับด้วย ลูกปัด,เลื่อมสวยงาม
ทรงผมนิยมไว้ยาวเสมอต้นคอหรือเกล้ามวยแบบฝรั่ง บางทีก็ดัดเป็นลอนแบบฝรั่ง ชาติตะวันตก แต่คนที่จะแต่งแบบนี้ก็จำกัดอยู่ในแวดวงสังคมชั้นสูงชาวบ้านธรรมดาก็ยังคงห่มผ้าแถบ แต่งกายแบบไทยเหมือนเดิม
รัชกาลที่ 7-8
มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพความ เป็นอยู่ไทยมากขึ้น ผู้หญิงในสมัยนี้เลิกใช้สะไบแพรปัก เลิกนุ่งโจงกระเบนหันมานุ่งผ้าซิ่นที่ตัดยาวแค่เข่า เสื้อก็ตัดเป็นแขนสั้นหรือแขนกุด ตัดตัวเสื้อหลวมแล้วรัดที่ปลายชายเสื้อใช้ผ้าโปร่งสวมใส่สบายมา กขึ้น นิยมประดับด้วยกำไลสร้อยคอมุกเส้นยาว ยังคงนิยมการใส่ถุงน่องยาวสีขาวเหมือนเดิม แต่บางทีก็เริ่มหันสวมรองเท้าส้นสูง แบบเปลือยส้นกันบ้างแล้ว ทรงผมนิยมตัดผมบ๊อบเสมอไหล่รวบด้านหน้าขึ้นเล็กน้อย หรือดัดอ่อนด้านหน้าให้เป็นลอนเล็กน้อย
รัชกาลที่ 9
มาถึงสมัยรัชกาลที่ 9 ชุดไทยกลายเป็นชุดที่ใช้เฉพาะในพิธีการสำคัญ ผู้คนส่วนใหญ่หันมาแต่งกายตามกระแสชาติตะวันตกอย่างสมบูรณ์แม้แต่ประชาชนโดยทั่วไปก็เลิกนุ่งผ้าซิ่นห่มสไบ จนกระทั่งสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้ทรงฟื้นฟูชุดไทยขึ้นใหม่โดยทรงปรับเปลี่ยนแบบให้เหมาะกับยุคสมัยให้สวยงามสง่า เรียกว่า "แบบไทยพระราชนิยม"