โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ
เข้าเล่นเกมซักพักมันก็คอมก็ดับไปเฉยเลยค่ะ
G_gossip
#1
27-11-2010 - 01:08:20

#1 G_gossip  [ 27-11-2010 - 01:08:20 ]




เล่นภาค late night แรกๆก็เล่นได้ปกติมีหลุดบ้าง แต่รอบนี้มันดับไปเฉยเลย ดับแบบ shut down ต้องเปิดเครื่องใหม่ อยากรู้ว่าจะแก้ไขได้ไงคะ


generos
#2
27-11-2010 - 09:12:19

#2 generos  [ 27-11-2010 - 09:12:19 ]




1. การ์ดจอเสีย
2. Hardrive น่าจะเสียนะคะ
อาทุกๆท่านคงเคยสงสัยว่า Hard disk ที่เราใช้อยู่ทุกวันจะเกิดเสียขึ้นมาเมื่อไหร่ เอาหละ วันนี้ผู้หมวดIT จะเปิดก๊อกไขข้อสงสัยเลยนะพอดีไปศึกษามาจากนิตยสารคอมพิวเตอร์ทูเดย์เลยเอา มาเล่าสู่กันฝัง หน้ากระดานเรียงหนึ่ง ปฎิบัติ!!

ว่ากันว่าผู้ใช้บาง ท่านรู้สึกแย่มาก ๆ ที่อยู่ดี ๆ ฮาร์ดดิสก์สุดที่รักก็จากไปอย่างไม่หวนคืน ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นมันมีสัญญาณเตือนให้ทราบอยู่ตลอดเวลา แต่ก็หาได้สังเกตไม่ ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้ส่วนใหญ่ก็จะไม่มีนิสัยรักการแบ็คอัพ ประเภทรักเดียวใจเดียวไม่สำรองข้อมูลไว้ที่อื่นกันบ้างเลย

ประเด็น ที่อยากจะเตือนผู้ใช้ก็คือ อย่ามั่นใจเทคโนโลยีมากเกินไป ควรสังเกตสังกามันบ้าง ต่อไปนี้คือ ลางบอกเหตุสำหรับฮาร์ดดิสก์ที่ใกล้ตาย ซึ่งมีอยู่ 10 ข้อด้วยกัน อ่านเรื่องนี้จบแล้วลองพิจารณาดูด้วยนะครับว่า ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อยู่มีอาการตามนี้บ้างหรือไม่

1. เสียงดังติ๊กๆ อย่านึกว่าเป็นเข็มนาฬิกา : ฮาร์ดดิสก์ทุกตัวในโลกนี้ไม่เคยติดตั้งนาฬิกาปลุกไว้ข้างใน และถ้ามันเป็นปกติดีก็ไม่ควรจะมีเสียงดังติ๊กๆ ให้ชวนระทึกขวัญด้วย เสียงดังที่ว่านี้ ถ้าจะให้พิจารณากันอย่างละเอียดคุณต้องเอาหูแนบกับฮาร์ดดิสก์ว่าเสียงมาจาก ส่วนใด เพราะการวิเคราะห์หาสาเหตุจะทำได้ตรงจุดจริง ๆ ถ้าเสียงมาจากตรงกลางให้สันนิษฐานว่ามาจากชุดขับเคลื่อนมอเตอร์ที่อาจเกิด ความผิดพลาดหรือชำรุดขึ้น แต่ถ้าเสียงดังมาจากรอบ ๆ นอกในรัศมีของกล่องฮาร์ดดิสก์ ให้สันนิษฐานว่าปัญหามาจากหัวอ่านติดขัด ซึ่งอาจจะกำลังเคาะกับแผ่นจานอยู่ก็เป็นได้ ตรงนี้อันตรายมากเพราะทำให้ข้อมูลเสียหายได้ทั้งลูกเลย

2. ไฟดับบ่อยๆ ไม่ดีกับฮาร์ดดิสก์ : เครื่องคอมพ์ที่ไม่มี UPS มีโอกาสเสี่ยงที่อุปกรณ์ภายในจะเสียหายเร็วขึ้นถ้าหากมีไฟดับบ่อย ๆ โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์นั้น เวลาที่ไฟฟ้าดับอย่างรวดเร็วหัวอ่านข้างในอาจจะยังไม่กลับสู่บริเวณที่ ปลอดภัย หรือบางทีหัวอ่านอาจจะไปกระแทกกับแผ่นจานในช่วงที่ไฟฟ้ากระชากขึ้นมาทันที ซึ่งไม่เป็นผลดีแน่ นอกจากนี้หากไฟตกบ่อย ๆ แล้วดับลงก็ไม่เป็นผลดีเช่นกัน เพราะฮาร์ดดิสก์จะพยายามทำงานตามหน้าที่หากมีกำลังไฟเพียงพอ แต่ถ้าในระหว่างนั้นไฟค่อยๆ ตกลงและดับไป ตำแหน่งของหัวอ่านจะยังไม่กลับที่เดิมแน่ ดังนั้น ควรติดตั้ง UPS ไว้จะปลอดภัยทั้งฮาร์ดดิสก์เองและอุปกรณ์ทั้งหมดด้วยเช่นกัน

3. เครื่องแฮงก์บ่อยๆ : ปัญหาเครื่องคอมพ์ค้างนั้น มีหลายสาเหตุครับ นอกจากซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการ Error แล้ว อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ก็สามารถทำให้เครื่องค้างหรือหยุดนิ่งไม่ไหวติงได้เช่นกัน หนึ่งในนั้นก็คือ ฮาร์ดดิสก์ นั่นเอง ทำไมฮาร์ดดิสก์ถึงค้างได้ เป็นคำถามที่ตอบได้ไม่ยากครับ อย่างแรกเลยก็คือ กำลังไฟที่จ่ายไม่เพียงพอ ถ้าเครื่องของคุณมีอุปกรณ์ต่อพ่วงมาก มีฮาร์ดดิสก์และไดรฟ์ออปติคอลหลายตัว แต่เพาะเวอร์ซัพพลายใช้ของราคาถูก จ่ายไฟไม่พอ แบบนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ฮร์ดดิสก์ค้างได้เลย และอย่างที่สองมาจากอุปกรณ์ภายฮาร์ดดิสก์ในทำงานผิดพลาด ซึ่งตรงจุดนี้ตัวระบบปฏิบัติการเองสามารถส่งผลต่อเนื่องมายังฮาร์ดดิสก์ได้ โดยตรง เพราะยังไงเสียระบบปฏิบัติการก็เก็บอยู่ในฮาร์ดดิสก์นั่นเอง ถ้าเกิดอะไรขึ้นกับส่วนหนึ่ง ย่อมส่งผลไปยังส่วนที่เหลือได้ไม่ยาก

4. ทำไมมันร้อนเร็วจัง : หลังจากที่คุณเปิดสวิตช์เครื่องคอมพ์ได้ไม่นาน และพบว่าฮาร์ดดิสก์ของคุณมีอุณหภูมิขึ้นสูงอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ แต่ยังคงทำงานต่อไปได้ ให้ตั้งข้อสันนิษฐานถึงความผิดปกติที่พบขึ้นมาทันที อย่าได้นิ่งนอนใจ เพราะฮาร์ดดิสก์จะร้อนขึ้นเมื่อมีการเริ่มเขียน-อ่าน ข้อมูลอย่างจริงๆ จังๆ แค่เปิดเครื่องแล้วอยู่ๆ ก็ร้อนขึ้นขนาดนี้ไม่ดีแน่ครับ อาการที่ว่านี้มาจากอุปกรณ์ภายในโดยตรงที่ส่งความร้อนออกมา มอเตอร์อาจได้รับแรงดันไฟมากเกินไปหรือไม่เสถียรพอจนทำงานผิดพลาด นอกจากนี้หากมีชิ้นส่วนในแผงวงจรเกิดชำรุดเสียหายขึ้นมาก็สามารถแสดงอาการ แบบนี้ได้เช่นกัน

5. โปรแกรมค้างบ่อยๆ : สำหรับโปรแกรมที่กำลังพูดถึงนี้ ผมเหมารวมไปถึงระบบปฏิบัติการด้วยนะครับ เวลาที่คุณเปิดโปรแกรมสักตัวขึ้นมาแล้วมันหยุดนิ่งหรือค้างไปเฉยๆ นั้น หนึ่งในข้อสันนิษฐานที่อยากให้ทุกท่านได้ใส่ใจก็คือ ปัญหาที่ว่าอาจมาจากฮาร์ดดิสก์โดยตรง ถ้าฮาร์ดดิสก์ของคุณมีแบดเซกเตอร์ (Bad Sector) กระจัดกระจายอยู่ทั่วทั้งฮาร์ดดิสก์ ผมกล้าฟันธงได้เลยว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้โปรแกรมหรือแม้แต่ระบบปฏิบัติ การค้างได้ เป็นสัญญาณเตือนภัยที่คุณสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด

6. ไฟติด แต่ไฟล์ดับ! : ถ้าคุณต่อสายสัญญาณไฟแสดงสถานะของฮาร์ดดิสก์ในเมนบอร์ดถูกต้อง หลอด LED ด้านหน้าเคสต้องแสดงอาการให้เห็นเวลาที่มีการเขียนอ่านข้อมูลเกิดขึ้น หลอดไฟดวงเล็ก ๆ นี้ช่วยให้คุณสังเกตความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์ได้เช่นกัน ยกตัวอย่าง ถ้าในระหว่างที่มีการเขียนข้อมูลหรือไฟล์ลงฮาร์ดดิสก์ หลอดไฟย่อมกะพริบอยู่ตลอด แต่หลังจากคุณกลับเข้าไปดูข้อมูลที่เขียนหรือโอนถ่ายลงไปกลับพบว่าทุกอย่าง ว่างเปล่า ไม่มีอะไรถูกเขียนลงไปในฮาร์ดดิสก์เลย แล้วทำไมหลอดไฟถึงได้กะพริบแบบนั้น ตรงนี้บอกอะไรเราได้บ้าง อย่างแรกเลยคือ เกิดความผิดพลาดในระดับโครงสร้างการจัดเก็บไฟล์ ปัญหาที่ว่านี้อาจมาจากระบบ FAT หรือแม้แต่โครงสร้างพาร์ทิชันเสียหาย ไฟที่กะพริบแสดงถึงการโอนข้อมูลไปยังตำแหน่งของเซกเตอร์ที่ใช้เก็บข้อมูล แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเขียนลงไปได้สำเร็จจริงๆ ยิ่งถ้าคุณปิดหน้าจอไว้ในระหว่างที่มีการโอนไฟล์ใหญ่ๆ หลอดไฟที่กะพริบอาจทำให้คุณเข้าใจว่าระบบกำลังทำงานอยู่ ตรงนี้ถ้าไม่เปิดดูหน้าจอจะไม่รู้เลยว่าเกิดอะไรขึ้น

7. ฮาร์ดดิสก์ตีกลอง : สำหรับอาการที่ว่านี้มีความแตกต่างจากข้อที่ 1 โดยสิ้นเชิง ถ้าคุณได้ยิ้นเสียงรัวกลองดังกึกก้องมาจากฮาร์ดดิสก์ และไม่ยอมหยุดซักที อาการแบบนี้บอกได้อย่างเดียวว่ามันจะขอลาแล้วละครับ เสียงดังที่คล้ายกับการตีกลองนั้นมาจากหัวอ่านไปกระทบกับจานอย่างจัง หรือแม้แต่หัวอ่านเลื่อนหลุดออกจากตำแหน่งล็อก จนไปกระกบกับแผ่นจาน ถ้าเป็นแบบนี้ข้อมูลทั้งหมดในอาร์ดดิสก์อาจได้รับความเสียหายจนถึงขั้นกู้ ไม่ได้เลย ดังนั้น ถ้าเสียงกลองเพิ่งเริ่มรัวให้คุณรีบพาฮาร์ดดิสก์ไปซ่อมด่วนเลยนะครับ!

8. สแกนดิสก์ไม่ผ่าน : การตรวจสุขภาพฮาร์ดดิสก์ที่คุณสามารถทำได้ด้วยตัวเองก็คือ สแกนมันให้ทั่วทั้งจาน ไม่ว่าคุณจะใช้บริการจากยูทิลิตีบนวินโดวส์เอง หรือโปรแกรมจากเธิร์ดพาร์ตี้ก็ตาม หากสแกนไม่ตลอดรอดฝั่งแล้วละก็ ให้ตั้งข้อสันนิษฐานได้เลยว่าฮาร์ดดิสก์กำลังมีปัญหาเกิดขึ้น สาเหตุก็มีทั้งโครงสร้าง FAT เสียหาย รวมถึงตารางพาร์ทิชันที่อาจเสียหายด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ หากฮาร์ดดิสก์มีแบดเซกเตอร์ ตรงจุดสำคัญๆ ก็จะส่งผลให้การสแกนฮาร์ดดิสก์ตรงตำแหน่งพื้นที่นั้นๆ ไม่ผ่านด้วยเช่นกัน หรือแม้แต่ค้างนิ่งไปเลยก็มีให้เห็นด้วย

9. สั่งดีแฟรกแต่ไม่ฉลุย : ดีแฟรก หรือการจัดเรียงข้อมูลหรือไฟล์ที่ไม่ต่อเนื่อง ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ทั่วฮาร์ดดิสก์ให้กลับมาเป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือน เดิม เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความเร็วให้ก็จริง แต่ถ้าการดีแฟรกไม่ผ่านฉลุยหรือไม่ยอมจบสิ้นซักทีล่ะ ปัญหาจะมาจากไหนได้ นอกจากฮาร์ดดิสก์นั่นเอง ถ้าคุณพบอาการที่ว่านี้ในระหว่างการดีแฟรกฮาร์ดดิสก์นั้น เป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ถึงสุขภาพฮาร์ดดิสก์ของคุณเริ่มไม่ดีแล้ว ความเป็นไปได้ของปัญหามีอยู่สองอย่างครับ อย่างแรกมาจากตัวอุปกรณ์เองที่อาจชำรุดเสียหาย และอย่างที่สองมาจากโครงสร้างพื้นฐานการจัดเก็บข้อมูลเกิดความเสียหายใน ระดับซอฟต์แวร์ ตรงนี้เราไม่สามารถใช้การดีแฟรกมาช่วยได้นอกจากต้องสร้างพาร์ทิชันและฟอร์ แมตโครงสร้าง FAT ขึ้นมาใหม่

10. สร้างพาร์ทิชันไม่ได้ : สัญญาณอันตรายในข้อสุดท้ายนี้ค่อนข้างรุนแรงครับ ถ้าคุณเผอิญกำลังประสบอยู่ละก็ ขอบอกเลยว่าอาจจะต้องทำใจเอาไว้ด้วย ถ้าอาการที่ว่านี้เกิดกับฮาร์ดดิสก์ตัวใหม่แกะกล่องคงไม่ต้องซีเรียสอะไร เพราะยังไงก็เคลมได้ชัวร์ๆ แต่ถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ที่หมดประกันไปแล้วล่ะ สิ่งที่คุณต้องเรียนรู้เวลาที่ไม่สามารถสร้างพาร์ทิชันขึ้นมาได้เลย ไม่ว่าจะใช้โปรแกรมใดๆ ก็ตาม การตีความหมายไม่ควรอยู่ในวงแคบๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์พังแน่ ๆ หรือมันเพิ่งหล่นมาใช้ไหมนี่ ปัญหาอาจจะมาจากแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์เสียหาย ซึ่งหากคุณหาอะไหล่ที่เป็นรุ่นเดียวกันมาถอดเปลี่ยนเข้าไปใหม่ ก็สามารถใช้งานฮาร์ดดิสก์ได้แล้ว แต่ถ้าแผ่นจานเสียหายละก็หมดสิทธิ์ทันทีครับ ต้องกินยาทำใจอย่างเดียว

อ่านกันจบคงต้องรีบไปสังเกตุอาการดังกล่าวนะครับเพราะเดี่ยวจะหาว่าผู้หมวด IT เตือน

ref : http://www.vet.cmu.ac.th/web/webboard/show.php?No=5


generos
#3
27-11-2010 - 09:12:56

#3 generos  [ 27-11-2010 - 09:12:56 ]




เราก็เคยเป็นเอาไปเปลี่ยนมาเล่นได้ดีเลยคะหมดไปหลายบาทเพราะเป็น Notebook


mrred
#4
27-11-2010 - 09:19:00

#4 mrred  [ 27-11-2010 - 09:19:00 ]






อาการนี้ เนื่องมาจาก CPU ร้อน เกินจุดที่กำหนดไว้ปัญหาอาจเกิดจาก ตัว shink พัดลม ติดไม่แน่นกับ CPU หรือ ตัว พัดลม CPU มีปัญหา MAIN บอร์ดวัดอุณภูมิ CPU ผิด POWER SUPPLY มีปัญหา สรุป ต้องยกไปให้ช่างดู

อาการนี้เกิดจาก ความร้อน CPU ครับ เครื่องปิดตัวเอง จะเป็นตอนที่ CPU ต้องทำงาน เกิน 80%

ปัญหาที่เล็กที่สุดคือ เปิด auto overclock ที่ BIOS อันนี้ ปิดทิ้งก็หาย


แก้ไขล่าสุดเมื่อ 2010-11-27 09:26:20


MR.RED
  • 1

ลงข้อความได้เฉพาะสมาชิก
ต้องสมัครเป็นสมาชิกและ login เข้าสู่ระบบก่อนถึงจะสามารถลงความเห็นได้
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก



โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายส่วนบุคคนก่อนเริ่มใช้งาน [นโยบายส่วนบุคคล]
ยอมรับ